Archive for พฤษภาคม 7th, 2011 |Daily archive page

โลกของเรานี้ช่างดีจัง

โลกของเรานี้ช่างดีจัง
ณ ที่นี้จะกล่าวถึงโลกโดยสรุปดังนี้
1. โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในจำนวน 8 ดวงตามที่ยอมรับกันในปัจจุบันของระบบสุริยะระบบหนึ่งในดาราจักรทางช้างเผือกระบบหนึ่ง
2. โลกเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นดวงที่ 3 ถัดจากดาวพุธดวงหนึ่งและดาวศุกร์อีกดวงหนึ่ง ณ ระยะ 1 หน่วยดาราศาสตร์หรือประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร
3. โลกมีอายุราว 4.500 ล้านปี (นานอย่างไม่น่าเชื่อ)
ทั้งนี้มนุษย์คนหนึ่งถ้ามีอายุอยู่บนโลกนี้ถึง 100 ปีก็นับว่านานโขอยู่แล้ว
ดังนั้น ช่วงชีวิตของมนุษย์คนใดคนหนึ่งบนโลกนี้ช่างน้อยนิดเทียบกับอายุของโลก
แต่ก็แปลกมากที่ช่วงเวลาอันสั้น ๆ ของคนคนหนึ่งบนโลกก็ก่อความเสียหายแก่โลกมากอย่างยิ่งอย่างแทบไม่น่าเชื่อ
ผู้อ่านคนหนึ่ง ๆ ลองคิดดูเถอะว่า เรานั้นทำอะไรที่เป็นส่วนดีและส่วนเสียแก่โลกใบนี้บ้างในช่วงชีวิตของแต่ละคน
4. โลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะระบบนี้ที่เราเชื่อกันว่ามีสิ่งชีวิตอยู่
ความจริงสิ่งนี้ก็นับว่าอัศจรรย์อย่างเหลือหลาย
แล้วเรายังคิดทำลายโลกของเรากันอยู่เช่นทุกวันนี้หรือ
อนึ่ง เราคิดกันหรือไม่ว่าสักวันหนึ่งอาจจะถึงเวลาที่โลกต้องสิ้นอายุไขเพราะมนุษย์โลกอย่างเรา ๆ นี้เอง
5. โลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบในเวลา 1 วันขณะที่โคจรตามวงโคจรวงหนึ่ง ๆ รอบดวงอาทิตย์ในเวลา 1 ปี
7. แกนสมมุติแกนหนึ่งของโลกเอียงกับแนวยืนแนวหนึ่งประมาณ 23.5 องศา
หรือทำมุมกับระนาบวงโคจรรอบโลกระนาบหนึ่งประมาณ 66.5 องศา
อนึ่ง เราจึงสามาถกล่าวได้ว่าโลกวางตัวเอียง ๆ ในขณะที่หมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ดังกล่าวนั้น
ทั้งนี้การเอียงของแกนสมมุติของโลกแกนนี้เองที่ทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ในพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งบนโลก
8. ปัจจุบันแกนสมมุติของโลกแกนนี้ชี้ไปในทิศทางสู่ดาวเหนือดวงหนึ่ง
ทั้งนี้แกนสมมุติของโลกแกนดังกล่าวก็ชี้เปลี่ยนตำแหน่งไปอย่างช้า ๆ มาก
โดยที่คาบของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนานถึงราว 2 หมื่น 6 พันปี
และเราเรียกพฤติกรรมดังกล่าวว่า “การหมุนควง”
อนึ่ง อีกราว 1 หมื่น 3 พันปีแกนสมมุติของโลกแกนนี้จะชี้ไปยังดาววีกาอีกดวงหนึ่ง
9. โลกมีดาวบริวารดวงหนึ่ง คือ ดวงจันทร์
ทั้งนี้ดวงจันทร์ไม่มีอากาศอย่างเช่นบนโลกของเรา
อนึ่ง ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองและโคจรรอบโลกครบ 1 รอบในช่วงเวลาที่เท่ากัน คือ ประมาณ 27 กับอีก 1 ใน 3 ของวัน
ดังนั้น เราจึงเห็นดวงจันทร์เฉพาะด้านที่หันเข้าหาโลกเพียงด้านเดียวเสมอ
10. ดวงจันทร์เปรียบเสมือนยามเฝ้าบ้านให้แก่โลกของเรา
โดยดวงจันทร์รับการชนของอุกกาบาตและดาวเคราะห์น้อยที่พุ่งเข้ามาก่อนที่จะมาสู่โลก
ด้วยเหตุนี้ พื้นผิวที่แท้จริงของดวงจันทร์จึงเต็มไปด้วยหลุมแผลเป็นเนื่องจากการชนดังกล่าว โดยที่ไม่ได้เกลี้ยงเกลาเหมือนอย่างที่เรามองดูดวงจันทร์ด้วยตาเปล่านั้น
ดังนั้น ตามที่เราชมว่า “หญิงสาวคนหนึ่งสวยดังดวงจันทร์นั้นจึงไม่น่าถูกต้องนัก”
อนึ่ง ดวงจันทร์ไม่มีแสงในตัวเองจึงต้องสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์มาสู่โลกให้ปรากฏแก่สายตาของคนที่มองดูดวงจันทร์
โดยพื้นผิวของดวงจันทร์ ณ พื้นที่หนึ่ง ๆ ก็สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ได้ดีต่างกัน
ดังนั้น เราจึงเห็นพื้นผิวของดวงจันทร์ไม่ได้มีความสว่างที่เป็นหนึ่งเดียว
11. โลกและดวงจันทร์มีการดึงดูดแก่กันและกันในลักษณะของการดึงดูดเนื่องจากความโน้มถ่วง
ทั้งนี้ผลที่เกิดขี้นเป็นกิจวัตรประจำวัน ณ โลก คือ น้ำขี้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุดเทียบกับระดับน้ำทะเลนั้นแล
อนึ่ง ดวงอาทิตย์ก็มีอิทธิพลแก่โลกทำนองเดียวกันนี้ แต่อิทธิพลจากดวงอาทิตย์นั้นน้อยเทียบกับจากที่ได้รับจากดวงจันทร์
อันเนื่องจากดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมาก ๆ นั่นเอง
ทั้งนี้ในขณะเดียวกันการดึงดูดของโลกที่มีต่อดวงจันทร์ก็ทำให้ดวงจันทร์ยังคงโคจรรอบโลกในฐานะดาวบริวารดวงเดียวของโลกฉะนี้
อนึ่ง ผู้เขียนไม่ต้องการให้เรื่องหนึ่ง ๆ ที่ผู้เขียนนำเสนอต่อผู้อ่าน ณ ที่นี้ยาวจนน่าเบื่อ
ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอยุติเนื้อหาสาระที่น่าสนใจนี้ไว้เพียงเท่านี้ก่อน
อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้อ่านคนใดคนหนึ่งคิดว่าเรื่องต่าง ๆ ที่ผู้เขียนนำเสนอต่อส่วนรวมนี้มีประโยชน์และเป็นที่น่าสนใจ
กรุณาแสดงความคิดเห็นให้ผู้เขียนรู้ด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง

ท้ายสุดนี้ผู้เขียนขอตั้งข้อคิดไว้เป็นประเด็นให้ทำความเข้าใจดังนี้
1. ถ้าแกนสมมุติของโลกแกนดังกล่าวเอียงมากขึ้น ๆ ขณะที่หมุนควงนั้นจะเป็นอย่างไร
2. ถ้าแกนสมมุติของโลกแกนนี้อยู่ในแนวยืนแนวหนึ่งหรือไม่เอียงเลย
กล่าวคือ ทำมุม 90 องศากับระนาบวงโคจรวงหนึ่ง ๆ ของโลกรอบดวงอาทิตย์
จะมีผลกระทบอย่างไรหรือไม่
เช่น ฤดูกาล ภูมิอากาศ อุณภูมิ น้ำขึ้นและน้ำลง และการดำรงชีวิตบนโลก
3. ลองคิดเปรียบเทียบการหมุนรอบตัวเองและการหมุนควงของโลกกับการหมุนของลูกข่างที่มีการหมุนควงลูกหนึ่งและการเคลื่อนที่ของนักสเก็ตบนลานน้ำแข็งคนหนึ่ง
4. ถ้า ณ วันหนึ่งดวงจันทร์หายไปจากโลกอย่างฉับพลันจะเป็นอย่างไรเอ่ย

สมพงษ์ ใจดี
sompongsej@yahoo.com
https://genphysics.wordpress.com/
http://www.vcharkarn.com/sompongse
7 พฤษภาคม 2554