โครงการอวกาศของสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2504

โครงการอวกาศของสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2504
เราเลือกการเดินทางไปสู่ดวงจันทร์ในช่วงเวลา 10 ปีนี้
เราต้องเริ่มลงมือทำสิ่งต่าง ๆ
เราต้องทำหลายสิ่งหลายอย่าง
โดยที่สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ๆ
ตรงกันข้าม สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งที่ยากลำบากอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม เพื่อลรรลุสู่ประตูชัยในที่สุด
เราต้องมีประสบการณ์
มีความชำนาญ
และมีการปรับปรุงจากการกระทำสิ่งต่าง ๆ ที่ยากลำบากเหล่านั้น
จนกระทั่งได้ผลดีที่สุดอย่างน่าพึงพอใจ
อดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดีกล่าวถึงโครงการมนุษย์อวกาศสู่ดวงจันทร์เมื่อปี พ.ศ. 2504
สหภาพโซเวียตประสบความสำเร็จทางด้านอวกาศที่ล้ำหน้าสหรัฐอเมริกาโดยที่สามารถส่งดาวเทียมดวงแรกของโลกและการส่งมนุษย์อวกาศคนแรกของโลกขึ้นสู่ห้วงเวหาและโคจรรอบโลกมาแล้ว
สหรัฐอเมริกาย่อมตระหนักเป็นอย่างดีดังนี้
ณ ตอนนั้นถึงเวลาแล้วที่สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องทำการค้นคว้าด้านอวกาศอย่างเร่งรีบและจริงจัง
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องทำอย่างระมัดระวัง ละเอียด และถี่ถ้วน
ทั้งนี้เพื่อเกียรติภูมิ
เพื่อความก้าวหน้าทางด้านอวกาศ
และเพื่อความยังผลทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ
ในฐานะที่สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำแห่งโลกเสรี
ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงต้องทุ่มเททุก ๆ อย่างเท่าที่จะเป็นไปได้ดังนี้
กำลังคน กำลังควมคิด ความสามารถ และทุนทรัพย์เป็นอย่างมาก
อนึ่ง ถึงแม้สหรัฐอเมริกาได้ตั้งเข็มทิศอันแน่วแน่ในโครงการท่องอวกาศไปยังเทห์ฟ้าต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ดวงจันทร์ดาวบริวารดวงเดียวของโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ในระบบสุริยะระบบนี้
อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาก็มีความจำเป็นต้องเหลียวมองทางข้างหลัง
โดยที่ต้องทำการค้นคว้าและพัฒนาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะอำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์โลกทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมไปพร้อม ๆ กันด้วย
ในเบื้องต้นนั้นโครงการอวกาศของสหรัฐอเมริกาโดยสรุปเป็น 3 ส่วนดังนี้
1. โครงการส่งดาวเทียมดวงหนึ่ง ๆ ขึ้นโคจรรอบโลก
2. โครงการส่งยานอวกาศลำหนึ่ง ๆ ไปสำรวจเทห์ฟ้าอื่น ๆ
3. โครงการส่งมนุษย์อวกาศไปสำรวจเทห์ฟ้าอื่น ๆ
ทั้งนี้ตามปณิธานอันแน่วแน่ของอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดีซึ่งมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการส่งมนุษย์อวกาศไปลงบนดวงจันทร์และกลับคืนสู่โลกอย่างปลอดภัยในที่สุด
โครงการส่งดาวเทียมดวงหนึ่ง ๆ ขึ้นโคจรรอบโลก
ทั้งนี้ดาวเทียมดวงหนึ่ง ๆ ที่สหรัฐอเมริกาได้ส่งขึ้นสู่อวกาศนั้นล้วนแล้วแต่เพื่อประโยชน์ทางด้านสันติภาพของโลกทั้งสิ้น
โดยเราจำแนกออกได้เป็น 5 ประเภทดังนี้
1. ดาวเทียมเพื่อการวิจัยสภาพอวกาศ
2. ดาวเทียมสื่อสารและการคมนาคม
3. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
4. ดาวเทียมเดินหนหรือดาวเทียมเพื่อการเดินเรือ
5. ดาวเทียมตรวจการณ์และแจ้งภัย
โครงการส่งยานอวกาศลำหนึ่ง ๆ ไปสำรวจเทห์ฟ้าอื่น ๆ
เช่น โครงการส่งยานอวกาศลำหนึ่ง ๆ ไปสำรวจพื้นผิวและหาข้อมูลต่าง ๆ ของดวงจันทร์และดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ๆ ก่อนที่จะส่งมนุษย์อวกาศไปสำรวจ
ดังนั้น โครงการดังกล่าวจึงเป็นโครงการปูทางในเบื้องต้นต่าง ๆ ดังนี้
ก. ยานอวกาศชุดเรนเจอร์
ทั้งนี้ยานอวกาศชุดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าชนเป้าหมาย ณ ปลายทาง
กล่าวคือ ดวงจันทร์เป็นผลสำเร็จ
ข. ยานอวกาศชุดเซอร์เวเยอร์
โดยชุดนี้มีจุดมุ่งหมายในการลงบนดวงจันทร์อย่างเรียบร้อย
ในขณะเดียวกัน ก็ถ่ายภาพพื้นผิวของดวงจันทร์ส่งกลับมายังโลกด้วย
ค. ยานอวกาศชุดพร็อสเพกเตอร์
โดยที่มีภารกิจในการถ่ายภาพเพื่อทำแผนที่ของพื้นผิวดวงจันทร์
อีกทั้งเก็บตัวอย่างของดวงจันทร์กลับมายังโลกของเราอีกด้วย
ดังนั้น เราจึงยอมรับถึงความจริงอันเป็นที่ประจักษ์ดังนี้
โครงการอวกาศของสหรัฐอเมริกาดังกล่าวมีขั้นมีตอนอันเหมาะสม
ทั้งนี้เน้นถึงสัมฤทธิผลที่อยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยเป็นสำคัญ
โครงการส่งมนุษย์อวกาศไปยังเทห์ฟ้าอื่น ๆ นั้นเป็นดังนี้
เป้าหมายแรก คือ ดวงจันทร์ดาวบริวารดวงเดียวของโลกที่นับว่าเป็นเทห์ฟ้าที่อยู่ใกล้โลกมากสุด
ส่วนเป้าหมายต่อไป ณ ขณะนั้น คือ ดาวอังคารดวงหนึ่งหรือไม่ก็ดาวศุกร์อีกดวงหนึ่ง โดยที่ดาวเคราะห์ 2 ดวงนี้นับได้ว่าเป็นเพื่อนบ้านของเราในระบบสุริยะระบบนี้
อนึ่ง โครงการในขั้นต้นของการเดินทางไปยังดวงจันทร์นั้นสหรัฐอเมริกาได้ใช้งบประมาณ ณ ตอนนั้นที่มากกว่า 4 ล้านล้านบาททีเดียว
ทั้งนี้โครงการ 3 ขั้นตอนของการส่งมนุษย์อวกาศอย่างปลอดภัยของสหรัฐฯ เป็นดังนี้
1. ขั้นตอนที่ 1 คือ โครงการเมอร์คิวรี
ทั้งนี้เมอร์คิวรีนั้นสื่อความหมายถึงเทพเจ้าแห่งการสื่อสาร
โดยที่เป็นโครงการมนุษย์อวกาศคนเดียว
กล่าวคือ สหรัฐอเมริกาส่งมนุษย์ขึ้นไปเพียงคนเดียวกับยานอวกาศที่รู้จักกันในนามว่า “แคปซูล”
2. ขั้นตอนที่ 2 คือ โครงการเจมินีหรือโครงการคนคู่
โดยที่โครงการนี้มีมนุษย์อวกาศ 2 คนที่ขึ้นไปในยานอวกาศลำเดียวกันนั้น
ทั้งนี้ตามโครงการในขั้นตอนที่ 2 นี้มนุษย์อวกาศได้มีโอกาสทดลองออกนอกยานอวกาศอีกด้วย
อีกทั้งยังได้ทำการเชื่อมต่อยานอวกาศลำนี้เข้ากับจรวดอะเจนาอีกลำหนึ่งที่ขึ้นไปก่อนหน้านั้นเป็นผลสำเร็จ
อนึ่ง การทดลองตามขั้นตอนดังกล่าวนี้เป็นส่วนสำคัญในการก้าวไปสู่การทดลองขั้นตอนที่ 3 อีกต่อไปด้วยความเชื่อมั่นยิ่งขึ้น
3. ขั้นตอนที่ 3 คือ โครงการอะพอลโลที่เป็นโครงการมนุษย์อวกาศ 3 คน
ทั้งนี้ยานอวกาศลำนี้มีชื่อว่า “มอดูล”
จรวดลำที่ใช้ชื่อว่า แซตเทิร์น 5 มีลักษณะเป็น 3 ท่อน
มวล 3 พันตัน
ณ ขณะที่ตั้งตรงในแนวยืนแนวหนึ่งนั้นสูงกว่าตึก 30 ชั้นทีเดียว
ตามโครงการดังกล่าวจรวดลำนี้จะต้องส่งมนุษย์อวกาศเข้าสู่วงโคจรของโลกวงหนึ่งพร้อมกันทั้ง 3 คนอย่างปลอดภัยในเบื้องต้น
กิจกรรมต่อจากนั้น คือ การฝึกหัดต่อเชื่อมยานอวกาศลำหนึ่ง ๆ เข้าด้วยกันในอวกาศนั้น
โครงการที่ตั้งไว้ขั้นต่อจากประสบความสำเร็จแล้ว คือ การส่งยานอวกาศลำหนึ่งที่มีมนุษย์อวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์แล้วเดินกลับมายังโลกอย่างปลอดภัย
ดังนั้น ขั้นสุดท้ายของโครงการอะพอลโลดังกล่าวเป็นดังนี้
กล่าวคือ การส่งมนุษย์อวกาศลงสัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์
อีกทั้งต้องสามารถกลับขึ้นมาจากพื้นผิวดวงจันทร์นั้นได้
แล้วต้องเดินทางกลับมายังโลกของเราอย่างปลอดภัยในที่สุด
ทั้งนี้ย่อมเป็นที่ยอมรับกันถึงเกียรติประวัติอันยิ่งใหญ่ด้านอวกาศแห่งมนุษยชาติร่วมกัน
ทั้งนี้เป็นที่คาดหวังดังนี้
ขั้นตอนต่าง ๆ ต้องดำเนินได้เรียบร้อยดังที่คาดหวังไว้นั้น
ความปรารถนาอันแรงกล้าตามโครงการนี้เป็นดังนี้
กล่าวคือ การบรรลุสู่ขั้นสุดท้ายของโครงการอะพอลโลสู่ดวงจันทร์และกลับคืนสู่โลกอย่างปลอดภัยต้องเป็นจริงอย่างแน่นอน
สมพงษ์ ใจดี
sompongsej@yahoo.com
https://genphysics.wordpress.com/
26 มกราคม 2554

2 comments so far

  1. ทศพร สวนแก้ว on

    เป็นบทความที่น่าประทับใจมากครับ ความเป็นมาเป็นไปเหล่านี้ ล้วนแล้วเหมือนเส้นทางการเดินทาง ที่ข้างทางล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยประสบการณ์ ประหนึ่งว่า เหมือนได้ฟังท่านผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นเล่าให้ฟังแล้ว ทำให้เสมือนว่าผู้อ่าน ได้ดำเนินตามเส้นทางนั้นจริงๆ

    • genphysics on

      ขอบคุณอย่างยิ่งอาจารย์ทศพร
      คนแก่ก็มีแต่เรื่องเก่า ๆ อย่างนี้แหละ เสียดายที่ผมนั้นไม่ได้สะสมรูปต่าง ๆ ไว้ มิฉะนั้น จะสามารถนำมาลงประกอบได้
      เท่าที่จำได้วันที่นั่งบรรยายร่วมกับคุณพิชัย วาสนาส่งทางทีวีช่อง 4 นั้นคนทั่วโลกมุ่งอยู่ที่จุดเดียวกัน (รวมทั้งคนไทยด้วย) อ้อ ตอนนั้นอีกช่องหนึ่ง คือ ช่อง 5 ที่บรรยายโดย ดร.ระวี ภาวิไลและ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต (ตอนนี้เสียชีวิตแล้ว) โดยที่ทั้ง 2 ท่านเป็นอาจารย์ของผมทั้งคู่จึงเน้นที่สาระ ส่วนผมนั้นเน้นที่การบรรยายให้ชาวบ้านเข้าใจ (มีความรู้น้อยนั่นเอง) ถ้าได้รับความสนใจระดับหนึ่งก็อาจจะลงไปจนถึงตอนที่ลงดวงจันทร์เป็นผลสำเร็จ


ใส่ความเห็น