Archive for กุมภาพันธ์ 17th, 2011 |Daily archive page

สะพานเชื่อมโยง

สะพานเชื่อมโยง
การปฏิบัติการตามโครงการเมอร์คิวรีที่สำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดีเป็นดังนี้
1. ในการขึ้นสู่อวกาศครั้งหนึ่ง ๆ นั้นมีนักบินอวกาศเพียงคนเดียว
2. การบินแบบโพรเจกไทล์ 2 ครั้งโดยไม่เข้าสู่วงโคจรวงใดวงหนึ่ง
3. การโคจรรอบโลก 4 ครั้ง
ทั้งนี้ครั้งสุดท้ายนักบินอวกาศอยู่ในวงโคจรวงหนึ่ง ๆ ที่มากสุดถึง 22 รอบ
4. จากสถิติตามโครงการเมอร์คิวรีดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ดังนี้
มนุษย์อวกาศมีความอดทนต่อสภาวะของการออกสู่อวกาศและกลับคืนสู่โลกอย่างปลอดภัย
มนุษย์อวกาศสามารถดำรงชีวิตภายใต้สภาวะไร้น้ำหนักได้เป็นเวลานาน
โดยที่สมรรถภาพในการทำงานไม่ลดลงแต่ประการใด
ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะยับยั้งโครงการขึ้นสู่อวกาศขอสหรัฐฯ ตามโครงการอื่น ๆ ลำดับต่อไป
ทั้งนี้โครงการต่อไปดังกล่าวนี้ คือ โครงการเจมินีโครงการหนึ่ง
โครงการเจมินีหรือโครงการคนคู่โครงการหนึ่งนี้องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2504
ทั้งนี้โครงการเจมินีโครงการนี้มีนักบินอวกาศ 2 คน
อนึ่ง เจมินีเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามชื่อของกลุ่มดาวฤกษ์คนคู่กลุ่มหนึ่ง
โดยที่กลุ่มดาวฤกษ์กลุ่มนี้มีดาวฤกษ์สว่าง 2 ดวงเป็นจุดเด่นดังนี้
กล่าวคือ คาสเตอร์ดวงหนึ่งและพาลลักซ์อีกดวงหนึ่ง
โครงการเจมินีโครงการนี้องค์การนาสามีจุดประสงค์ที่จะขยายประสบการณ์จากโครงการเมอร์คิวรีโครงการนั้นให้ก้าวหน้าและกว้างขวางยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ต้องการฝึกฝนนักบินอวกาศของสหรัฐฯ ให้มีสมรรถนะที่เพียงพอแก่การเดินทางไปยังเทห์ฟ้าอื่น ๆ ในเอกภพตามโครงการขั้นต่อไปดังนี้
กล่าวคือ โครงการอะพอลโลโครงการหนึ่งที่มีจุดหมายปลายทางที่ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารดวงเดียวของโลกและเดินทางกลับมายังโลกอย่างปลอดภัย
ทั้งนี้จุดมุ่งหมายดังกล่าวนี้นับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง
โดยเป็นสิ่งที่เกินความคาดฝันของคนทั่วไป
ทั้งนี้น้อยคนนักที่จะคิดว่ามนุษย์โลกจะสามารถทำเป็นผลสำเร็จได้ตามความปรารถนานี้ โดยอาจเป็นเพียงจินตนาการเชิงนิยายอวกาศเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ โครงการเจมินีโครงการนี้จึงเป็นก้าวที่ 2 ที่สำคัญยิ่งอีกก้าวหนึ่งของการบินอวกาศของสหรัฐฯ ที่เปรียบประหนึ่งเป็นสะพานเชื่อมโยงโครงการแรกโครงการหนึ่ง คือ โครงการเมอร์คิวรีโครงการนั้นกับโครงการอะพอลโลอีกโครงการหนึ่งที่อาจเรียกได้ดังนี้
“โครงการพิชิตดวงจันทร์โครงการหนึ่งที่เป็นก้าวที่ 3 อันสำคัญสุดยอดในขณะนั้น”
ในระยะเริ่มแรกของการเดินทางขึ้นสู่อวกาศของมนุษย์โลกวงการแพทย์ต่างวิตกต่อผลกระทบที่มีต่อนักบินอวกาศดังนี้
เมื่อนักบินอวกาศต้องอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักซึ่งแตกต่างจากสภาวะปกติบนโลกของทุกคนอย่างมากเป็นเวลานานจึงเกรงว่าจะมีผลกระทบในทางที่ไม่ดีดังนี้
การหมุนเวียนของโลหิต
การทำงานของระบบอวัยวะภายในร่างกายระบบหนึ่ง ๆ
การทำงานของระบบประสาทที่เปรียบประหนึ่งได้กับกองบัญชาการของร่างกายระบบหนึ่ง
การเปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างของร่างกายของแต่ละคน
และผลกระทบต่อกรรมพันธุ์ของมนุษย์อวกาศในที่สุด
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลเชิงสถิติของกรณีต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นที่ได้จากการตรวจสมรรถนะของนักบินอวกาศทั้งโครงการเมอร์คิวรีโครงการหนึ่งและโครงการเจมินีอีกโครงการหนึ่งดังที่กล่าวถึงในตอนนี้ความวิตกของวงการแพทย์ตามที่กล่าวนั้นก็ลดลงและปราศจากข้อสงสัยในที่สุด
23 มีนาคม 2508
มนุษย์อวกาศ 2 คนชุดแรกของโครงการเจมินีโครงการนี้ได้ทะยานขึ้นจากแหลมเคนเนดีสู่ห้วงเวหาภายใต้แรงขับดันของจรวดไทแทน 2 ลำหนึ่ง
ทั้งนี้มนุษย์อวกาศ 2 คนดังกล่าวมีดังนี้
เวอร์จิล กริสสอมที่ทำหน้าที่เป็นนักบินบังคับการคนหนึ่ง
และจอห์น ยังที่เป็นนักบินผู้ช่วยอีกคนหนึ่ง
อนึ่ง จรวดไทแทน 2 ลำนี้มี 2 ท่อนดังนี้
โดยที่ท่อนแรกนั้นมีแรงขับดันที่เทียบเท่าแรงฉุดของม้ามากถึง 7 ล้านตัว
ส่วนท่อนที่ 2 นั้นเป็นยานอวกาศลำหนึ่ง คือ เจมินี 3 ลำหนึ่งที่มีชื่อเล่นดังนี้กล่าวคือ “มาลลี บราวน์”
ทั้งนี้ยานอวกาศลำนี้ทำหน้าที่ดังนี้
เป็นยานพาหนะในการเดินทาง
เป็นที่ปฏิบัติภารกิจ
และเป็นที่พักอาศัยรวมทั้งเป็นที่หลับนอนของนักบินอวกาศทั้ง 2 คน
อนึ่ง มาลลี บราวน์มีสมบัติดังนี้
สูง 11.5 ฟุตหรือประมาณ 2 เท่าของความสูงของคนไทย 1 คน
กว้าง 7.5 ฟุตที่มีขนาดประมาณได้กับห้องนอนห้องหนึ่งโดยทั่วไป
มวล 7 พันปอนด์หรือเทียบเท่ากับข้าวสารประมาณ 25 กระสอบ
ทั้งนี้ความสำเร็จของนักบินอวกาศทั้ง 2 คนและยานมาลลี บราวน์ลำนี้ในวงโคจรรอบโลกวงหนึ่ง ๆ นับว่าเป็นการประเดิมชัยที่สำคัญของการส่งยานคนคู่ลำหนึ่งขึ้นสู่วงโคจรรอบ ๆ โลกอย่างสวยหรู
อนึ่ง ระหว่างการโคจรรอบโลก 3 รอบนักบินอวกาศ 2 คนดังกล่าวนี้ได้ฝึกบังคับยานมาลลี บราวน์ลำนั้นดังนี้
เปลี่ยนวิถีวงโคจรวงหนึ่ง ๆ
พัฒนาเทคนิกการนัดพบกับยานอวกาศลำอื่น ๆ
และศึกษากรรมวิธีต่อติดกับยานอวกาศลำอื่น ๆ ด้วย
ทั้งนี้การปฏิบัติภารกิจดังกล่าวนี้ต้องใช้จรวดเล็ก ๆ 32 ลูกด้วยกัน
มิถุนายน 2508
นักบินอวกาศ 2 คน คือ เจมส์ แมกดิวิตและเอ็ดเวิร์ด ไวท์ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกวงหนึ่ง ๆ ในยานอวกาศเจมินี 4 ลำหนึ่งเป็นเวลานานถึง 4 วัน
โดยที่นักบินอวกาศไวท์คนนั้นได้ออกปฏิบัติภารกิจนอกยานอวกาศลำดังกล่าวนาน 20 นาที
ทั้งนี้ ณ ตอนนั้นนักบินอวกาศไวท์คนนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นดาวเทียมดวงหนึ่งที่โคจรรอบโลกพร้อม ๆ กันกับยานอวกาศเจมินี 4 ลำนั้นด้วย
สิงหาคม 2508
กอร์ดอน คูแปอร์และชาร์ลส์ คอนราดได้อยู่ในวงโคจรกับยานอวกาศเจมินี 5 ลำหนึ่งนานถึง 8 วันและวนรอบโลกถึง 120 รอบ
ทั้งนี้เป็นสถิติของการบินในอวกาศที่ยาวนานสุด
อนึ่ง พฤติกรรมดังกล่าวสื่อความหมายดังนี้
กล่าวคือ มนุษย์มีความทนทานต่อสภาวะนอกโลกเป็นเวลาที่ยาวนานมากพอต่อการเดินทางไปดวงจันทร์และกลับคืนสู่โลกอย่างปลอดภัย
ด้วยเหตุนี้ จึงต่างมีความเชื่อมั่นกันดังนี้
“มนุษย์จะสามารถเดินทางไปพิชิตดวงจันทร์ได้ในเร็ววัน”
ธันวาคม 2508
แฟรงค์ บอร์แมนและเจมส์ โลเวลล์ขึ้นสู่อวกาศในยานอวกาศเจมินี 7 ลำหนึ่ง
ทั้งนี้นักบินอวกาศ 2 คนนี้อยู่ในอวกาศนาน 14 วัน
โดยเป็นช่วงเวลาที่นานสุดของการอยู่ในอวกาศสำหรับโครงการเจมินีโครงการนี้
อย่างไรก็ตาม นักบินอวกาศคู่นี้ตกอยู่ในเวลาวิกฤติอย่างตื่นเต้น ณ ตอนหนึ่งดังนี้
กล่าวคือ ณ ขณะที่ยานอวกาศเจมินี 7 ของเขานั้นมียานอวกาศเจมินี 6 อีกลำหนึ่งที่มีนักบินอวกาศ 2 คน คือ วอลเตอร์ เชียร์ราและทอมมัส สแทฟฟอร์ดเป็นผู้บังคับกำลังไล่กวดอยู่
ในที่สุด ยานอวกาศ 2 ลำนี้ก็อยู่ห่างกันแค่เอื้อม ณ ระยะห่างประมาณ 1 ฟุต
มีนาคม 2509
เนียล อาร์มสตรองและเดวิด สก็อตเป็นนักบินอวกาศ 2 คนแรกที่สร้างประวัติของการต่อติดยานอวกาศเจมินี 8 ลำหนึ่งเข้ากับจรวดอะเจนาลำหนึ่งซึ่งเป็นเป้าหมายของการต่อติดในลักษณะของดาวเทียมดวงหนึ่งเป้าหมายหนึ่ง ณ ตอนนั้น
มิถุนายน 2509
ทอมมัส สแทฟฟอร์ดและยูกีน เชอร์แนนขึ้นโคจรสู่อวกาศกับยานอวกาศเจมินี 9- เอแล้วกลับลงมาได้อย่างแม่นยำ
กรกฎาคม 2509
จอห์น ยังและไมเคิล คอลลินส์ได้ควบคุมยานอวกาศเจมินี 10 ลำหนึ่งเข้าหาจุดนัดพบที่เป็นเป้าหมายอีกเป้าหมายหนึ่งเป็นผลสำเร็จได้อย่างดียิ่ง
กันยายน 2509
ยานอวกาศเจมินี 11 ลำหนึ่งขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกวงหนึ่ง ๆ โดยมีนักบินอวกาศ 2 คน คือ ชาร์ลส์ คอนราดและริชาร์ด กอร์ดอนเป็นผู้บังคับยานอวกาศลำนี้ไปยังจุดนัดพบจุดหนึ่งเพื่อเข้าต่อติดกับจรวดอะเจนาลำหนึ่งที่ประพฤติตนเป็นเป็นดาวเทียมดวงหนึ่ง ณ ตอนนั้น
พฤศจิกายน 2509
การขึ้นสู่อวกาศครั้งนี้เป็นปฏิบัติการครั้งสุดท้ายของโครงการเจมินีโครงการนี้
โดยมีจุดประสงค์สำคัญหลักเพิ่มขึ้นจากของทุกครั้งที่ผ่านมาของโครงการเจมินีโครงการดังกล่าวดังนี้
กล่าวคือ ต้องปฏิบัติการทั้งการนัดพบเพื่อต่อติดเหมือนครั้งก่อน ๆ ประการหนึ่ง
แต่ที่สำคัญสุดในครั้งนี้ คือ ต้องทำภารกิจของการปลดออกด้วยอีกประการหนึ่ง
นักบินอวกาศ 2 คนซึ่งขึ้นไปกับยานอวกาศเจมินี 12 ลำหนึ่งในครั้งนั้น คือ เจมส์ โลเวลล์และเอ็ดวิน แอลดริน
ทั้งนี้นักบินอวกาศ 2 คนดังกล่าวต้องต่อติดกับจรวดอะเจนา-ดีลำหนึ่ง
ต่อจากนั้น ก็ต้องสามารถปลดออกได้ด้วยดังกล่าวแล้วนั้น
อนึ่ง เพื่อความมั่นใจที่จะดำเนินการปฏิบัติการตามโครงการส่งนักบินอวกาศขึ้นพร้อมกันโครงการหนึ่ง ๆ แอลดรินยังได้ออกปฏิบัติภารกิจนอกยานอวกาศเจมินี 12 ลำนี้เป็นเวลาที่นานถึง 2 ชั่วโมง 9 นาที
ณ ขั้นนี้เป็นที่ยอมรับกันดังนี้
“ปฏิบัติการส่งท้ายโครงการเจมินีโครงการนี้สำเร็จอย่างดียิ่ง”
ทั้งนี้โครงการเจมินีโครงการนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 20 เดือน
ใช้งบประมาณที่มากถึง 2 หมื่น 8 พันล้านบาท ณ ขณะนั้น
ผู้อ่านลองคิดว่า “เฉพาะโครงการเจมินีโครงการเดียวก็ใช้เงินมากฉะนี้”
นอกจากนี้ ต้องไม่ลืมว่า ณ ตอนนั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณมากกว่า 45 ปีมาแล้ว
อนึ่ง ผู้เขียนมีข้อคิดประการหนึ่ง ๆ ดังนี้
“ประเทศเล็ก ๆ อย่างประเทศไทยของเรานั้นจะมีเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยเพื่อทำโครงการใหญ่ ๆ สักโครงการหนึ่งเช่นนั้นหรือ”
นี่คือ คำตอบประการหนึ่งที่คนไทยจำนวนไม่น้อยที่มีความรู้ความสามารถและได้ไปศึกษาในประเทศที่ก้าวหน้า ณ ประเทศต่าง ๆ แต่เมื่อกลับมายังประเทศไทยแล้วเราก็ไม่สามารถทำอะไรที่ก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศใหญ่ ๆ เหล่านั้นได้
ดังนั้น วิชาที่เกี่ยวกันนี้ เช่น ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์อวกาศ และวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านอวกาศก็เป็นเพียงการศึกษาเพื่อประดับความรู้ของเราเท่านั้น
หาได้อำนวยประโยชน์ในด้านการค้นคว้าแต่ประการใด
ทั้งนี้ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่เคยศึกษาดาราศาสตร์ก็มีความเห็นดังนี้
ประเทศไทยมีแต่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นเท่านั้น
หาได้มีนักดาราศาสตร์ที่แท้จริงไม่
โดยที่กิจกรรมทางดาราศาสตร์ของเราในปัจจุบันนี้ไม่แตกต่างไปจากสิ่งที่เราเคยทำกันมาเมื่อมากกว่า 50 ปีมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม ถ้าทำใจได้และคิดดังนี้
“เราทำเท่าที่เราทำได้ดีกว่าที่เราจะไม่ทำอะไรเลย”

รศ.สมพงษ์ ใจดี
sompongsej@yahoo.com
https://genphysics.wordpress.com/
http://www.vcharkarn.com/sompongse
17 กุมภาพันธ์ 2554